หน้าแรก หลักสูตร ประมวลภาพ ติดต่อสอบถาม แผนที่

 

การตรวจวัดน้ำมันเครื่อง

ระดับน้ำมันเครื่องควรจะอยู่ระหว่าง Max กับ Min ดูได้จากก้านวัด ระดับน้ำมันเครื่องที่สูงเกินไปคือสูงกว่าระดับ Max จะทำให้มีแรงดันสูง ผลคือทำให้ซีล และประเก็นต่างๆแตกรั่วซึม ถ้ามีแรงดันเข้าไปถึงห้องเผาใหม้ ก็จะออกอาการเป็นควันขาว เมื่อดึงก้านวัดออกมาและก่อนที่จะจุ่มลงไปใหม่ ควรใช้ผ้าเช็ดก้านวัดให้สะอาด เมื่อใดก็ตามที่สัญญาณความดันน้ำมันเครื่องปรากฎขึ้นที่แผงหน้าปัดควรจะจอดรถและตรวจสอบทันที

ระยะการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง มีเกณฑ์กำหนดคือจำนวนระยะทาง(กิโลเมตร) หรือตามระยะเวลาหรือตามการสิ้นสภาพของน้ำมันเครื่อง ขึ้นอยู่กับสภาพใช้งาน รถที่ใช้งานวิ่งทางไกลโดยการจราจรไม่ติดขัดควรยึดถือตามจำนวนกิโลเมตรที่วิ่งเป็นเกณฑ์ ถ้าเป็นรถที่วิ่งในการจราจรติดขัดเครื่องยนต์ทำงานหนักติดต่อกันวันละหลายชั่วโมง ควรยึดหลักระยะเวลาหรือสภาพของน้ำมัน เครื่องเป็นเกณฑ์ ควรเปลี่ยนกรองด้วยทุกครั้ง

น้ำ

น้ำในที่นี้คือน้ำมันหล่อเย็นของเครื่องยนต์ ควรตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็นโดยเฉพาะก่อนขับทางไกล ถ้าลดลงก็เติมให้ได้ระดับพอดี ถ้าน้ำลดลงบ่อยๆ แสดงว่าอาจมีอะไรผิดปกติควรนำรถไปตรวจสอบ

การตรวจสอบระดับน้ำหล่อเย็นควรเปิดฝาหม้อน้ำดูด้วย(ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะเครื่องร้อนอยู่) ถ้าขับไปน้ำแห้ง อย่ารีบเปิดฝาเติมน้ำลงไปทั้งที่เครื่องยังร้อนมากๆ เพราะอาจทำให้ไอของน้ำร้อนพุ่งเข้าหน้า และทำความเสียหายต่อตัวเครื่องยนต์ซึ่งอาจทำให้ฝาสูบโก่งได้ ควรทิ้งไว้ให้เย็นสักพัก จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำลงไปเรื่อยๆจนมากพอควร แล้วก็สตาร์สเครื่องยนต์ให้อยู่ในรอบเดินเบาๆ เพื่อให้น้ำหมุนเวียน แล้วเติมน้ำต่อไปจนได้ระดับที่ต้องการ

ยางรถ

ควรตรวจสภาพล้อแม๊ก ลมยาง ยางรถ ก่อนนำรถออกไปใช้งาน การสูบลมยางอ่อนเกินไปจะมีผลทำให้พวงมาลัยหนัก สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น การสึกหรอของยางเพิ่มขึ้น ในกรณีที่จะขับรถทางไกลหรือบรรทุกหนักกว่าปกติควรเติมลมให้สูงกว่าพิกัดเล็กน้อย ก็จะช่วยรักษายางได้มาก ยางไม่ร้อนเร็ว ซึ่งหมายถึงอายุการใช้งานก็จะยาวนานขึ้น

 

 

สอนระบบออกถนนจริง เน้นประสบการณ์

หลักสูตรการสอนที่ดีที่สุด เหมาะกับการจราจรยุคปัจจุบัน